สาขาต่างๆของจิตวิทยา
ปัจจุบันนี้เป็นที่ทราบแล้วว่า จิตวิทยาเป็นศาสตร์แขนงใหญ่แขนงหนึ่ง ซึ่งแต่เดิมนั้นจิตวิทยามีรากฐานมาจากวิชาปรัชญา ที่ศึกษาจิตด้วยการสังเกตและสำรวจประสบการณ์ด้วยตนเอง ในเมื่อเป็นศาสตร์ที่แยกมาเป็นอิสระแล้ว แนวทางในการศึกษาศาสตร์นี้จึงจำแนกออกเป็นสาขาย่อยหลายสาขา ดังเช่นสาขาสำคัญๆต่อไปนี้
1.จิตวิทยาทั่วไป(General Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์เบื้องต้นของพฤติกรรมเป็นส่วนที่ว่าด้วยหลักการทั่วไปทางจิตวิทยา
2.จิตวิทยาการศึกษา(Educational Psychology) ศึกษาพัฒนาการเรียนการสอนและวิธีการส่งเสริมประสิทธิภาพของการเรียนรู้โดยนำหลักทางจิตวิทยามาใช้
3.จิตวิทยาพัฒนาการ(Developmental Psychology) ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆของมนุษย์ตั้งแต่ปฏิสนธิจนกระทั่งถึงวัยต่างๆ โดยเน้นทำความเข้าใจการพัฒนาการด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม
4.จิตวิทยาสังคม(Social Psychology) เป็นสาขาที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของบุคคลที่มีผลกระทบกับสังคมไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม
5.จิตวิทยาอุตสาหกรรม(Industrial Psychology) เป็นสาขาที่ค้นหาวิธีการและหลักการของจิตวิทยาที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานของธุรกิจต่างๆ เช่น ในอุตสาหกรรมโรงงาน ธุรกิจการบริการต่างๆเป็นต้น ตลอดจนยังเป็นการศึกษาผลของสิ่งแวดล้อมประเภทต่างๆที่มีผลต่อการทำงานด้วย
6.จิตวิทยาการทดลอง(Experimental Psychology) ศึกษาพฤติกรรมพื้นฐานของมนุษย์โดยเน้นใช้วิธีการทดลองในห้องปฏิบัติการ หรือเป็นกระบวนการทดลองในลักษณะอื่นๆเพื่อให้เข้าใจถึงสาเหตุและผลของพฤติกรรมได้อย่างเชื่อมั่นมากขึ้น เช่น การทดลองเรื่องการเรียนรู้การคล้อยตาม กาารอบรมเลี้ยงดูเป็นต้น
7.จิตวิทยาอปกติ(Abnormal Psychology) เป็นการศึกษาสาเหตุ การป้องกัน แก้ไขพฤติกรรมที่มีความผิดปกติของมนุษย์ทั้งทางด้านจิตใจและร่างกาย
8.จิตวิทยาคลินิก(Clinical Psychology) เป็นการศึกษาถึงการนำจิตวิทยาไปประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยโรคและการให้บริการบำบัดรักษามนุษย์ที่มีปัญหาทางจิต เช่น ปัญหาการก่ออาชญากรรม การติดยาเสพติดเป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น